Thai language English language
  หน้าแรก > พระราชกรณียกิจ > หน้า 6
 
หน้า  1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8
 
  สมเด็จย่ากับการศึกษาของเยาวชนในชนบทไทย
 
 
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงสนพระทัยในเรื่องการศึกษาของเยาวชนในเขตชนบทเป็นอย่าง มากด้วยทรงมีพระราชดำริว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เยาวชนในชนบท มีความรู้ความคิดและ สติปัญญาที่เฉลียวฉลาดอันจะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาชนบท แต่จากการสมเด็จฯออกเยี่ยมเยียน ราษฎร
 
ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีกลับทรงพบกับสภาพความขาดแคลน โรงเรียนสำหรับเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดารด้วยในเวลานั้นกระทรวงศึกษาธิการยังขยายเขตการศึกษา ไปไม่ถึงพื้นที่ตามแนวชายแดนที่ห่างไกล ประกอบกับการสื่อสารโทรคมนาคมก็มิได้เจริญเฉกเช่นในปัจจุบัน
 
ทั้งในเวลานั้นเป็นช่วงที่มีการแทรกซึมของเหล่าผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางทำให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเพิ่มความห่วงใยประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตแทรกซึมซึ่งบางแห่งมิได้พูดภาษาไทยกัน ด้วยซ้ำจะเกิดความไม่แน่ชัดว่าตนคือคนไทยด้วยหรือไม่ ดังนั้นเมื่อความทราบใต้ฝ่าพระบาทว่ากองกำกับการ ตำรวจตระเวนชายแดน ได้กำหนดโครงการที่จะจัดสร้างโรงเรียนชาวเขาขึ้นในเขตพื้นที่ตามแนว ชายแดนที่ อยู่ในความดูแล รับผิดชอบ
 
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก ่กองกำกับการตำรวจ ตระเวนชายแดน เพื่อนำไปจัดสร้างโรงเรียนจำนวน ๒๙ แห่งภายหลังผู้มีจิตศรัทธาได้ทูลเกล้า ถวายเงินสมทบในการจัดสร้างได้อีกกว่า ๑๘๕ แห่งไม่เพียงเท่านั้น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ยังได้ทรงรับเอาโครงการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไว้ในพระราชูปถัมภ์ ในปัจจุบันมีโรงเรียนเกือบ 400โรงเรียนซึ่งโรงเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วได้ถูกโอนเข้าไปสังกัดในส่วนงานการประถมศึกษา ส่วนที่ยังคงอยู่ในความรับผิด ชอบของตำรวจตระเวนชายแดนมีเพียง ๑๗๐โรงเรียนและเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนีทรงเจริญพระชน มายุมากขึ้น ก็มิได้ทรงทอดทิ้ง พระองค์ได้ทรงฝากให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงช่วยดูแลแทนดังพระราชพระแสที่ว่า"ย่าแก่แล้วไปไหนไม่ค่อยไหวถ้าสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯก็ให้เยี่ยม แทนย่าด้วย"นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อเยาวชนในท้องถิ่นชนบทห่างไกลเป็นล้นพ้น
 
  สมเด็จย่ากับงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
พระราชกรณียกิจในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่เอื้อคุณ ประโยชน์ต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างมหาศาลอีกประการหนึ่งคืองานเกี่ยวกับการฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรธรรม ชาติตลอดจนสิ่งแวดล้อมให้ฟื้นคืนกลับมามีสภาพที่ดีดังเดิมซึ่งหนึ่งในหลายๆงานในด้านนี้ของพระองค์ได้แก่โครง การพัฒนาดอยตุงที่มาของโครงการนี้เกิดขึ้นดังนี้"ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง"พระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีน ครินทราบรมราชชนนีที่ทรงต้องการ ทอดพระเนตรเห็นความเขียวชอุ่มและความสมบูรณ์ของสภาพป่าบน ดอยตุง ซึ่งดูราวกับว่าไม่สามารถ จะเป็นไปตามพระราชประสงค์ได้จากพระราชดำรินี้รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ พลเอกเปรมติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นจึงได้ก่อตั้งโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น ในปี พ.ศ. 2531
 
ปัจจุบันนี้ สภาพป่าบนดอยตุงสมบูรณ์เกินกว่าที่จะเชื่อว่าเมื่อหลายปีก่อนเคยเป็นภูเขาที่แห้งแล้งไม่มีต้นไม้อยู่เลยด้วย พระราชดำริของสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีในการปลูกป่าและพัฒนาความรู้ให้แก่ ชาวบ้านบน ดอยตุงนี้เองทำให้สภาพป่าบนดอยตุงมีความสมบูรณ์ขึ้นมาได้ความสำเร็จของโครงการพัฒานา ดอยตุงในครั้งนี้ได้ จุดประกายให้เกิดการตื่นตัวในการสร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้บังเกิดขึ้นแก่ประชาชนทั่ว ไปในวงกว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมจนหมดสภาพ ความเป็นป่าได้เกิดความรู้ความเข้าใจจากโครงการที่เห็นได้เป็นรูปธรรมนี้แล้วหันมาให้ความร่วมมือกับราชการอ ันที่จะฟื้นฟูสภาพป่า อย่างเป็นระบบเพื่อให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ตามเดิมอีกครั้งหนึ่ง
 
Top

 


 
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 333 หมู่ 1 ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย 57100
โทรศัพท์ 0-5391-6000, 0-5391-7034, โทรสาร 0-5391-6034, 0-5391-7049
สำนักงานมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2679-0038-9 โทรสาร 0-2679-0038 Send Email to : webmaster@mfu.ac.th