Thai language English language
  หน้าแรก > พระราชประวัติ > หน้า 3
 
หน้า  1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8
 
เมื่อขึ้นครองราชย์ยุวกษัตริย์พระองค์น้อยมีพระชนมายุเพียง 9 ชันษากว่า พระราชภารกิจที่สำคัญยิ่ง ของสมเด็จพระบรมราชชนนีก็คือการอบรมอภิบาลพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จขึ้นครองราชย์ภาย ใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงปฏิบัติพระราชภาระนี้ได้อย่าง ดีเลิศพระโอรสทั้ง สองพระองค์ซึ่งเสด็จ ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีต่างทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ประเสริฐ และทรงปฏิบัติหน้า ที่ในฐานะพระมหา กษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างดีเลิศเหมาะสม จึงไม่เป็นการ กล่าวเกินจริงไปเลยว่า สมเด็จพระบรมราช ชนนีทรงมีส่วนร่วมในการ สร้าง หน้าที่และบทบาทของสถาบัน พระมหากษัตริย์ ในระบอบประชาธิปไตยด้วย พระองค์หนึ่ง
 
เนื่องจากพระโอรสองค์เล็กเสด็จขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 1946 เมื่อพระชนมมายุเพียง 18 พรรษาสมเด็จพระบรม ราชชนนีจึงต้องรับพระราชภาระถวายอภิบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ในช่วง ค.ศ. 1947 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเรียนรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโล ซานน์นั้น สมเด็จพระบรมราชชนนีก็ได้ทรงลงทะเบียนเรียนแบบ audit ที่มหาวิทยาลัยนี้ด้วย ทรงศึกษาวิชา ปรัชญาวรรณคดีฝรั่งเศส ภาษาบาลีและสันสกฤต หลังจากที่พระโอรสทรงอภิเษกสมรสใน ค.ศ. 1950 แล้วสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงย้ายจาก พระตำหนัก วิลล่าวัฒนาที่ประทับของพระองค์และพระโอรสที่เมืองพุยยี่มา ประทับ ณ แฟลตเลขที่ 19 ถนนอาวองโปสต์ ในเมืองโลซานน์
 
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จกลับ ประเทศไทยในปลาย ค.ศ.1951 สมเด็จพระบรมราชชนนียังคงประทับที่โลซานน์ต่อไปอีกจนถึง ค.ศ. 1963ในช่วงนี้เสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนด เวลาที่แน่นอน ในค.ศ. 1964 ได้เสด็จกลับ มาประทับที่ประเทศไทยพร้อมกับเริ่มเสด็จประพาส หัวเมืองและเสด็จ พระราชดำเนินออก เยี่ยมราษฎรในถิ่น ทุรกันดารทั่วประเทศ ได้ทรงริเริ่มโครงการต่าง ๆ เพื่อประชาชนยากจนด้อย โอกาสในพื้นที่เหล่านี้ นับจาก ค.ศ. 1964 เป็นต้นมา

สมเด็จพระบรมราชชนนีได้ทรงงานในชนบทมาอย่างต่อเนื่องจนถึง วาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ เสด็จสวรรคตในวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 ในด้านพระ ราชอัธยาศัยและ พระราชจริยวัตร สมเด็จพระ บรมราชชนนีโปรดการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย โปรดการทรงงานด้วยพระองค์เอง
 
ทรงใช้เวลาให้เป็นประโยชน์เสมอ ทรงใช้จ่ายประหยัดเพื่อนำพระราชทรัพย์ไปใช้ในกิจการกุศล โปรดการเดินป่า ปีนเขา ทอดพระเนตรดอก ไม้และทิวทัศน์ธรรมชาติ ทรงเป็นคนเข้มแข็งและเป็นคนตรง ทรงเน้นการพึ่งตนเองและการทำงานเพื่อประโยชน์ ส่วนรวม ทรงยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยทรงใฝ่รู้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ มาตลอดพระชนม์ชีพ ทรงเลื่อมใสศรัทธา และศึกษาธรรมะ ในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ทรงฝึกสมาธิและทรงดำเนินพระชนม์ชีพอยู่ในธรรมะ ไม่ทรงยึด ถือในลาภ ยศ สรรเสริญ เคยมีรับสั่งว่า คนเราไม่ควรลืมตัว ไม่อวดดี ไม่ถือว่าตนเก่ง และเคยรับสั่งถึงเรื่อง จังหวะชีวิตว่าแบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะที่หนึ่ง คือ แรกเกิด ทุกคนเท่ากันหมด เพราะมาแต่ตัว

ระยะที่สอง คือ ขั้นสมมุติ มีสมมุติต่าง ๆ เช่น ชื่อนั้น ชื่อนี้ บรรดาศักดิ์อย่างนั้น อย่างนี้ เกิดตามมาเป็นของปลอม

ระยะที่สาม คือขึ้นระลึกถึงความจริงได้ว่า ชีวิตที่แท้จริงเป็นอย่างไร ไม่หลงไหลในสมมุติต่าง ๆ รู้จักใช้ลาภยศ สิ่งสมมุติเพื่อช่วย เหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
 
 
Top

 
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 333 หมู่ 1 ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย 57100
โทรศัพท์ 0-5391-6000, 0-5391-7034, โทรสาร 0-5391-6034, 0-5391-7049
สำนักงานมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2679-0038-9 โทรสาร 0-2679-0038 Send Email to : webmaster@mfu.ac.th