แพทยศาสตร์บัณฑิต

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร   255  หน่วยกิต

รูปแบบหลักสูตร
 
รูปแบบ
:
หลักสูตรระดับปริญญาตรี 6 ปี (หลักสูตรระดับที่ 2  ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552)
 
ภาษาที่ใช้
:
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
 
การรับเข้าศึกษา
:
รับนักศึกษาไทย และเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2542 และข้อบังคับของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงว่าด้วย การศึกษาเพื่อปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2555
 
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
:
เป็นหลักสูตรที่มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลที่ใช้ในการศึกษาระดับคลินิก ซึ่งประกอบด้วย
 
โรงพยาบาลหลัก
 

       โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร

     
       โรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร
 
โรงพยาบาลสมทบ
 
       โรงพยาบาลสุโขทัย  จ.สุโขทัย
     
       โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จ.สุโขทัย
 
โรงพยาบาลชุมชน
 
       โรงพยาบาลแม่จัน  จ.เชียงราย
     
       โรงพยาบาลพญาเม็งราย จ.เชียงราย
     
       โรงพยาบาลพาน จ.เชียงราย
     
       โรงพยาบาลแม่สรวย จ.เชียงราย
     
       โรงพยาบาลแม่สาย จ.เชียงราย
     
       โรงพยาบาลเชียงแสน  จ.เชียงราย
     
       โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
 
ภายใต้ความร่วมมือในการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  โดยในการดำเนินการหลักสูตรดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาและสถาบันพี่เลี้ยง ในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1-3 จะเรียนรายวิชาระดับเตรียมแพทย์และปรีคลินิก (Pre-medicine และ Pre-clinic) ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4-6 จะเรียนรายวิชาระดับคลินิก (Clinic) ณ สถาบันร่วมผลิตแพทย์
 
 
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
:
ให้ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
 
 
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
 
 
หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2556
:
ได้พิจารณาเห็นชอบโดยสภาวิชาการในคราวประชุมวาระพิเศษ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555
 
 
 
:
ได้รับอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร จากสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555
 
 
 
:
เริ่มใช้หลักสูตร ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2556
 
 
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
 
 
หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2559  (หลังจากเปิดสอนเป็นเวลา 3 ปี)
 
 
สถานที่จัดการเรียนการสอน
 
 
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล สถานบริการ และศูนย์บริการสาธารณสุขต่างๆ ในการใช้เป็นที่จัดการศึกษา
     
 
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร
     
 
โรงพยาบาลกลาง  กรุงเทพมหานคร
     
 
โรงพยาบาลสุโขทัย  จ.สุโขทัย
     
 
โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย  จ.สุโขทัย
     
 
โรงพยาบาลพญาเม็งราย  จ.เชียงราย
     
 
โรงพยาบาลพาน  จ.เชียงราย
     
 
โรงพยาบาลแม่สรวย  จ.เชียงราย
     
 
โรงพยาบาลแม่จัน  จ.เชียงราย
     
 
โรงพยาบาลแม่สาย จ.เชียงราย
     
 
โรงพยาบาลเชียงแสน จ.เชียงราย
     
 
โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
 
 
สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร
 
 
 
สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
 
 
 
จากการที่ประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเน้นการเจริญเติบโตในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการกำลังคนในการพัฒนาประเทศและความก้าวหน้าเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทําให้วิถีชีวิตของประชาชนถูกผลักดันให้มีการแข่งขันสูงการทำงานที่ต้องเร่งรีบและต้องทำงานหนัก มีความแตกต่างในสภาพเศรษฐกิจของสังคมในเมืองและชนบทมากทำให้มีความห่างเหินกันในครอบครัวมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและอนามัยทั้งยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนสูงขึ้นเด็กมีจำนวนต่ำลงเกิดช่องว่างระหว่างความสัมพันธ์ขาดการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่เด็กและวัยรุ่นจึงมีปัญหามากขึ้นทั้งในเรื่องของการใช้ยาเสพติดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรการตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาตลอดจนปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะสังคมเศรษฐกิจการเมืองระบบสารสนเทศและโครงสร้างประชากรที่มีผู้สูงวัยเพิ่มเกินเกณฑ์ร้อยละ10ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพในที่สุด ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรต้องนำปัญหาสุขภาพของประชาชนมา พิจารณาอย่างรอบด้านและให้ความสําคัญกับสุขภาพของประชาชนด้วย
 
 
 
สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
 
 
 
ประเทศไทยประสบกับปัญหาขาดแคลนแพทย์ในชนบทมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายแพทย์สู่ชนบทยังเป็นปัญหาสำคัญมาโดยตลอด แม้จะมีความพยายามแก้ไขด้วยมาตรการต่างๆ แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ความแตกต่างของสภาพเศรษฐกิจและความสะดวกสบายระหว่างสังคมเมืองและชนบท ทำให้ขาดแรงจูงใจของแพทย์ที่จะอยู่ในชนบท แพทย์ที่จบใหม่ยังคงต้องการมาศึกษาต่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในโรงเรียนแพทย์ใน กรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ และไม่ต้องการกลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้การมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นที่ต้องการการดูแลด้านสุขภาพผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้น ดังนั้น การจัดตั้งแพทยศาสตร์แนวใหม่ ที่มุ่งผลิตแพทย์ที่มีแนวคิดใหม่ตรงความต้องการของชุมชน มีความรู้ความสามารถในการดูแลด้าน เวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ชุมชนได้เป็นอย่างดี มีจิตใจรักผูกพันและต้องการปฏิบัติงานอยู่ในชุมชน จึงเป็นทางออกสำคัญทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยหลักการสำคัญของแพทยศาสตร์แนวใหม่ คือ เน้นการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (Family Physicians) ซึ่งเป็นสาขาวิชาเฉพาะทางการแพทย์ที่เน้นดูแลผู้ป่วยและครอบครัวแบบองค์รวม ผสมผสานเชื่อมโยงวิชาวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์กับพฤติกรรมศาสตร์และสังคม ศาสตร์ รวมถึงการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย มุ่งเน้นผลการรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยอาศัยชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนในท้องถิ่น
 
 
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
 
 
เป็นแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐ เอกชน และสถาบัน/สำนัก/หน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบอาชีพอิสระทั้งในประเทศและต่างประเทศ ศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ศึกษาต่อระดับปริญญาโท  เอก สาขาการแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

 

   

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, ชั้น 4 อาคารปรีคลินิก M3
333 หมู่ 1 ตำบลท่าสุด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100
โทรศัพท์ 0-5391-6566 โทรสาร 0-5391-6570