สำนักงานให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา (Living and Learning Support Center)
สำนักงานให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา (Living and Learning Support Center)
    Home
    About US
    Staff
    KM
    Contact US
Hot Links
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
กรมสุขภาพจิต
วิชาการ.คอม
สำนักงาน ก.พ.

QUICK CONTACT

Tel: 053-916666,6167-6168
Fax: 0-5391-6169
Email: student-support@mfu.ac.th
Website: www.mfu.ac.th/division/llsc

NEWS : km
 
 
การให้คำปรึกษานักศึกษาที่มีภาวะวิตกกังวลเนื่องจากผลการเรียนต่ำ
 
 

บทสรุปของอาจารย์นิ่มนวล  ภูมิถาวร  (หัวหน้าสำนักงานให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักศึกษา)

          ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มาขอรับคำปรึกษา มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ไม่ชอบสาขาวิชาที่เรียน (นิติศาสตร์) จะใช้วิธีตั้งคำถามเปิดว่าเลือกเรียนสาขานี้เพราะอะไร บางคนก็เลือกเรียนเพราะบุคคลในครอบครัวทำงานด้านตุลาการบ้าง บางคนเลือกเรียนเพื่อหนีวิชาคำนวณ ทั้งนี้   ได้ช่วยนักศึกษาในการสำรวจตัวเองว่า ชอบสาขาวิชาที่เรียนจริงหรือไม่ และเป็นสาขาที่เหมาะสมกับศักยภาพ ความถนัดของตัวนักศึกษาเองหรือไม่

 

บทสรุปของนางสาวสยุมพร   ไชยวงค์  เจ้าหน้าที่บริหาร

          ช่วยนักศึกษาสำรวจตนเอง พิจารณาความเป็นไปได้ของแต่ละทางเลือกโดยให้นักศึกษาเป็นผู้ตัดสินใจเลือกด้วยตัวเอง ถ้านักศึกษาเลือกว่าจะลองพยายามเรียนอีกครั้ง ก็จะให้กำลังใจ แต่จะเพิ่มเติมเงื่อนไขของแต่ละเส้นทางให้นักศึกษาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ ได้ กระตุ้นให้นักศึกษาหาทางเลือกสำรองเผื่อไว้เป็นทางเลือกอื่นๆ ด้วย  

 

บทสรุปของนางสาวแววดาว   ดู่คำ  เจ้าหน้าที่บริหาร

           หลังจากสนทนากับนักศึกษาแล้วพบว่า ส่วนหนึ่งมาพบด้วยความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง จึงได้เสริมกำลังใจ  ใช้คำถามเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้สำรวจตัวเองว่า ขณะนี้เราได้ลงมือทำสิ่งใดที่เป็นการช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตัวเองบ้าง  ซึ่งนักศึกษาเองก็ยังไม่ได้ลงมือทำสิ่งใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเอง  ทั้งนี้ ได้ช่วยนักศึกษาพิจารณาทางเลือกและความเป็นไปได้ของแต่ละทาง แนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้นักศึกษามองเห็นและเข้าใจว่า ทุกเรื่องมีทางออกอยู่เสมอ       

 

บทสรุปของนางสาวกรรณิกา  มาโน  เจ้าหน้าที่บริหาร

          จะให้นักศึกษาลองหยุด เพื่อตั้งสติ พิจารณาและลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นเพราะนักศึกษายังไม่ได้ลงมือทำเต็มที่นัก ก็จะแนะนำให้ลองลงมืออย่างจริงจังอีกครั้ง รวมถึงช่วยนักศึกษาในการพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมต่อไป

 

       และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครั้งนี้  ทำให้ค้นพบสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์และเป็นแนวปฏิบัติที่ดี สามารถนำมาใช้พัฒนาการทำงานด้านการให้คำปรึกษานักศึกษาที่มีภาวะวิตกกังวลเนื่องมาจากผลการเรียนได้  ดังนี้

1. รับฟัง  จับประเด็น และช่วยนักศึกษาในการสำรวจตัวเอง

2. ช่วยนักศึกษาในการพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมกับความถนัด  และตามศักยภาพที่แท้จริงของนักศึกษา  ทำให้นักศึกษาที่มองไม่เห็นทางออกเพราะความวิตกกังวล สามารถมองเห็นภาพในหลายมิติมากขึ้น ตลอดจนมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง

3. การให้กำลังใจและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักศึกษา

 

นางสาวแววดาว ดู่คำ :ผู้ถอดบทเรียนจากการประชุมKM

 
 
ประกาศเมื่อ : 26/02/2557  
แก้ไขเมื่อ : 20/03/2558 เวลา : 09:57:15  
 

 
Living and Learning Support Center D1 building , first floor , room 127    
333 M 1 T.Tasud  A.Muang Chiang Rai 57100 Tel : 053-916666,6167-6168