สำนักงานให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา (Living and Learning Support Center)
สำนักงานให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา (Living and Learning Support Center)
    Home
    About US
    Staff
    KM
    Contact US
Hot Links
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
กรมสุขภาพจิต
วิชาการ.คอม
สำนักงาน ก.พ.

QUICK CONTACT

Tel: 053-916666,6167-6168
Fax: 0-5391-6169
Email: student-support@mfu.ac.th
Website: www.mfu.ac.th/division/llsc

NEWS : km
 
 
การให้คำปรึกษานักศึกษาที่มักจะโกหก
 
 

บทสรุปของอาจารย์นิ่มนวล  ภูมิถาวร  (หัวหน้าสำนักงานให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักศึกษา)

ขณะที่พูดคุยกับนักศึกษาแล้วพบว่านักศึกษาพยายามโกหก ในฐานะที่มีความอาวุโสกว่า จึงมักจะถามตรงๆกับนักศึกษาด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พยายามทำให้เขารู้สึกว่าได้คุยกับเพื่อน แต่ก็ต้องรักษาระยะความสัมพันธ์ที่เหมาะสมไว้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้นักศึกษาเกิดความไว้วางใจสามารถพูดคุยและเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับตัวเองให้เราฟังได้ โดยจะไม่รู้สึกว่าถูกตำหนิ ทั้งนี้ ได้พยายามแทรกการตักเตือนบ้างเล็กน้อย

 

บทสรุปของนางสาวสยุมพร   ไชยวงค์  เจ้าหน้าที่บริหาร

 เนื่องจากได้พบเจอนักศึกษาในกรณีนี้ไม่มากนักส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะให้ข้อมูลไม่ตรงกับที่เคยเล่าในครั้งที่ผ่านมา อาจจะด้วยความไม่ตั้งใจที่จะโกหกหรือเพราะเหตุผลส่วนตัวของนักศึกษาเองก็ตาม จึงมักจะใช้วิธีถามทบทวนนักศึกษาอีกครั้งถึงข้อมูลที่เคยเล่าในครั้งที่ผ่านมา แล้วรับฟังนักศึกษาด้วยความตั้งใจ แต่จะไม่มีท่าทีที่จะทำให้นักศึกษารู้สึกว่าถูกตำหนิ

 

บทสรุปของนางสาวแววดาว   ดู่คำ  เจ้าหน้าที่บริหาร

          ส่วนใหญ่ที่พบมักจะเป็นนักศึกษาที่ไม่ได้ตั้งใจจะโกหก แต่เป็นในลักษณะกลบเกลื่อน หรือพยายามปกปิดข้อมูล ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากพื้นฐานการเลี้ยงดูของครอบครัว บิดามารดา  เพราะเท่าที่สังเกตคือ ผู้ปกครองหรือพ่อแม่ที่ค่อนข้างเข้มงวด เจ้าระเบียบ นักศึกษาก็จะรู้สึกว่าตนเองโดนจ้องจับผิด หรือโดนตำหนิ  จึงมักจะโกหกเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดหรือเพื่อความสบายใจของผู้ปกครอง  ส่วนผู้ปกครองที่เข้าใจนักศึกษา ก็มักจะไม่มีปัญหาเหล่านี้  ซึ่งในครั้งแรกที่ได้พูดจากันจะให้นักศึกษาพูดในสิ่งที่อยากพูดก่อน และในการพูดคุยครั้งต่อไป ก็จะพยายามสร้างสัมพันธภาพและแสดงให้นักศึกษาเห็นว่า เราให้ความสำคัญในการเก็บรักษาความลับของนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษารู้สึกไว้วางใจ สามารถพูดคุยหรือบอกข้อมูลที่เป็นความจริงทั้งด้านในบวกและด้านลบกับเราได้โดยที่จะไม่ถูกตำหนิ และการสร้างความไว้วางใจนั้นเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยเวลาพอสมควร

 

บทสรุปของนางสาวกรรณิกา  มาโน  เจ้าหน้าที่บริหาร

          ในการสนทนาพูดคุยกับนักศึกษามักจะเปิดใจรับฟังนักศึกษาอย่างตั้งใจ และให้ความสำคัญกับข้อมูลที่นักศึกษาเล่า  ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร และถึงแม้นักศึกษาจะโกหก ก็จะไม่ตำหนิ  แต่จะพยายามรับฟัง เมื่อนักศึกษาตระหนักได้ว่ามีคนที่คอยรับฟังอย่างไม่มีเงื่อนไข และสิ่งที่เขาพูดนั้นมีความสำคัญ เขาก็จะรู้สึกว่าต้องระมัดระวังการพูดและไม่โกหกหรือปกปิดข้อมูลอีก

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ทุกคน สามารถสรุปประเด็นที่สอดคล้องกันและประเด็นที่แตกต่างกันแต่มีประโยชน์เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงาน สรุปเป็นแผนภาพความคิด ได้ดังนี้

การให้คำปรึกษานักศึกษาที่มักจะโกหก

การสร้างความไว้วางใจให้กับนักศึกษาเป็นกระบวนที่ต้องอาศัยทั้งเวลา และประสบการณ์ในการสร้างสัมพันธภาพ เช่น

-  สร้างสัมพันธภาพ

-  ใช้คำถามเปิด

 - เปิดใจ รับฟังอย่างตั้งใจ และพูดคุยกับนักศึกษา ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร และไม่ทำให้นักศึกษารู้สึกว่าถูกตำหนิ

ส่งผลให้

- นักศึกษาเกิดความไว้วางใจ และสบายใจที่จะบอกเล่าเรื่องราวของตนเองให้ผู้อื่นฟัง

- นักศึกษาระมัดระวังในการใช้คำพูดที่ถูกต้องเหมาะสม และพูดความจริง

นางสาวแววดาว ดู่คำ :ผู้ถอดบทเรียนจากการประชุมKM

 

 

 

 
 
ประกาศเมื่อ : 26/02/2557  

 
Living and Learning Support Center D1 building , first floor , room 127    
333 M 1 T.Tasud  A.Muang Chiang Rai 57100 Tel : 053-916666,6167-6168