สำนักงานให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา (Living and Learning Support Center)
สำนักงานให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา (Living and Learning Support Center)
    Home
    About US
    Staff
    KM
    Contact US
Hot Links
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
กรมสุขภาพจิต
วิชาการ.คอม
สำนักงาน ก.พ.

QUICK CONTACT

Tel: 053-916666,6167-6168
Fax: 0-5391-6169
Email: student-support@mfu.ac.th
Website: www.mfu.ac.th/division/llsc

NEWS : km
 
 
การตั้งคำถามในการให้คำปรึกษา
 
 
  • นางสาวสยุมพร  ไชยวงค์  :  ให้ข้อสังเกตนักศึกษากลุ่มเป้าหมาย (ผลการเรียน GPAX ต่ำกว่า 2.00) ที่มารับคำปรึกษาที่สำนักงานให้คำปรึกษาฯ พบว่ามีอยู่ 2 ประเภท คือ นักศึกษาที่ช่างพูด และนักศึกษาที่ไม่ค่อยพูด โดยมีวิธีตั้งคำถามแตกต่างกัน ดังนี้

 นักศึกษาที่ช่างพูด  : หากเป็นนักศึกษาประเภทดังกล่าว เมื่อนักศึกษาได้เล่า ได้ระบายความรู้สึกต่างๆจนพอสมควรแล้ว ผู้ให้คำปรึกษาควรถามนักศึกษาเพื่อสรุปประเด็นปัญหา เช่น “จากที่กล่าวมา นักศึกษาต้องการความช่วยเหลืออะไรและอย่างไรบ้าง”เป็นต้น

นักศึกษาที่ไม่ค่อยพูด   :  หากเป็นนักศึกษาประเภทดังกล่าวผู้ให้คำปรึกษาฯอาจจะได้รับข้อมูลค่อนข้างน้อย จึงต้องมีวิธีการถามคำถามที่ไม่ทำให้นักศึกษารู้สึกว่าตนเองทำความผิดร้ายแรงหรือถูกตำหนิโดยหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า ทำไม

ดังนั้นในกรณีนักศึกษากลุ่มเป้าหมายที่มีผลการเรียน GPAX ต่ำกว่า 2.00 คำถามที่ควรใช้ เช่น “อะไรคือสาเหตุให้ผลการเรียนในเทอมที่ผ่านมาลดลง หรือ เกิดอะไรขึ้นกับเทอมที่ผ่านมาผลการเรียน GPAXจึงลดลง” จากนั้นจึงถามคำถามที่ให้นักศึกษาได้คิดและวางแผนด้วยตนเองว่าจะจัดการกับปัญหาดังกล่าวอย่างไร เช่น “นักศึกษามีแผนในการเรียนต่อไปอย่างไร”เป็นต้น

  • นางสาวแววดาว ดู่คำ :  ให้ข้อคิดเห็นว่าเนื่องจากนักศึกษา กลุ่มเป้าหมาย (ผลการเรียน GPAXต่ำกว่า 2.00) ที่มาขอรับคำปรึกษารับรู้สาเหตุของปัญหาของตนเองอยู่แล้ว จึงเลือกใช้วิธีการตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาได้สำรวจตนเอง ได้เรียบเรียงระบบความคิดของตนเอง เช่น นักศึกษามีวิธีการอย่างไรในการจัดการกับปัญหาดังกล่าวโดยให้นักศึกษาได้คิดและตัดสินใจด้วยตนเอง  ในการแก้ปัญหาต่างๆ จากนั้นจึงนัดนักศึกษาเพื่อติดตามผลต่อไป
  • นางสาวกรรณิกา มาโน  :  กล่าวถึงการใช้คำถามในการให้คำปรึกษาว่าใช้วิธีเช่นเดียวกับนางสาวสยุมพร ไชยวงค์ (เลือกใช้คำถามกับนักศึกษาที่มีลักษณะแตกต่างกัน) และนางสาวแววดาว ดู่คำ (เลือกใช้คำถามปลายเปิดและให้นักศึกษาได้คิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง) แต่สิ่งที่เพิ่มเติม  เข้ามาคือ การตั้งคำถามเพื่อชี้ให้นักศึกษาได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหา โดยใช้คำถามที่ให้นักศึกษาได้สำรวจความรู้สึกของตนเอง เช่น “สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้นักศึกษารู้สึกอย่างไร” เป็นต้น
  • นางสาวศิวาการ ชัชมนมาศ  :  กล่าวถึงการใช้คำถามในการให้คำปรึกษาว่าได้ใช้วิธีการดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่บางครั้งการจะได้ข้อมูลต่างๆ นั้น การสร้างความเป็นกันเองกับนักศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นเพราะการที่นักศึกษากล้าเล่าปัญหาต่างๆให้ฟังนั้นควรเริ่มจากการตั้งคำถามในสิ่งที่นักศึกษาสนใจก่อน (โดยใช้การสังเกตสิ่งที่นักศึกษาสนใจ ชื่นชอบ เช่น สังเกตเห็นนักศึกษาอ่านหนังสือเล่มหนึ่งอยู่จึงซักถามรายละเอียดเล็กน้อย) จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการให้คำปรึกษาต่อไป
  • นางสาวนิ่มนวล ภูมิถาวร  :  (หัวหน้าสำนักงานให้คำปรึกษาฯ) ได้ใช้วิธีการแนะนำนักศึกษาว่าทำอย่างไรจึงจะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น บางครั้งนักศึกษารับรู้ เข้าใจ และทราบวิธีการแก้ปัญหาของตนเองอยู่แล้วเพียงแต่หาคนสนับสนุนความคิดของตนเพื่อให้เกิดกำลังใจ อีกทั้งให้ข้อเสนอแนะว่าในการให้คำปรึกษานักศึกษานั้นไม่ควรสนิทสนมกับนักศึกษาจนเกินไป ควรมีช่องว่าง ทั้งนี้เพื่อฝึกให้นักศึกษารู้จักช่วยเหลือตนเองและลดการพึ่งพา

สรุป การตั้งคำถามในการให้คำปรึกษานั้นควรปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

เนื่องจากนักศึกษาแต่ละคนมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้

1.) นักศึกษาที่ช่างพูด และนักศึกษาที่ไม่ค่อยพูด  การตั้งคำถามย่อมมีความแตกต่างกัน

2.) ควรเลือกใช้วิธีการตั้งคำถามแบบปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้สำรวจและเรียบเรียงระบบความคิดของตนเอง

3.) เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นความสำคัญของปัญหา จะใช้คำถามที่ทำให้นักศึกษาได้สำรวจความรู้สึกของตนเอง เช่น ตอนนี้รู้สึกอย่างไร

4.) การตั้งคำถามในสิ่งที่นักศึกษาสนใจเป็นการสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้นักศึกษากล้าที่จะเล่าปัญหาต่างๆให้ฟัง

5.) ส่วนในกรณีที่นักศึกษารับรู้ เข้าใจ และทราบวิธีการแก้ปัญหาของตนเองอยู่แล้วเพียงแต่ต้องการผู้สนับสนุนความคิดของตนเพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการแก้ไขปัญหา

จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักให้คำปรึกษาเพื่อนำไปใช้ในการให้คำปรึกษานักศึกษาต่อไป

 
 
ประกาศเมื่อ : 14/01/2556  
แก้ไขเมื่อ : 14/01/2556 เวลา : 10:43:40  
 

 
Living and Learning Support Center D1 building , first floor , room 127    
333 M 1 T.Tasud  A.Muang Chiang Rai 57100 Tel : 053-916666,6167-6168