สำนักงานให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา (Living and Learning Support Center)
สำนักงานให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา (Living and Learning Support Center)
    Home
    About US
    Staff
    KM
    Contact US
Hot Links
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
กรมสุขภาพจิต
วิชาการ.คอม
สำนักงาน ก.พ.

QUICK CONTACT

Tel: 053-916666,6167-6168
Fax: 0-5391-6169
Email: student-support@mfu.ac.th
Website: www.mfu.ac.th/division/llsc

NEWS : km
 
 
การคัดกรองนักศึกษาที่มีปัญหาอารมณ์ พฤติกรรม และสุขภาพจิต เพื่อประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นเพื่อช่วยเหลือนักศึกษา
 
 

 

ถอดบทเรียนการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดการความรู้ (KM)

ประจำเดือนมีนาคม  2558  ของสำนักงานให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักศึกษา

วันอังคาร ที่ 7 พฤษภาคม 2558 ณ ห้อง  127  อาคารโรงอาหารและกิจกรรม  D1

 

ตามที่  สำนักงานให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักศึกษา ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดการความรู้ของหน่วยงาน (KM)ในเดือนพฤษภาคม2558  สำนักงานให้คำปรึกษาฯ ได้กำหนดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ การคัดกรองนักศึกษาที่มีปัญหาอารมณ์ พฤติกรรม และสุขภาพจิต เพื่อประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาจากนั้นบุคลากรของสำนักงานฯ จึงได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ซึ่งมีรายละเอียดรายนามบุคลากรและบทสรุปในหัวข้อดังกล่าว  ดังนี้

รายนามบุคลากร

1. อาจารย์ ดร.สิริรุ่ง      วงศ์สกุล     รักษาการแทนหัวหน้าสำนักงานให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักศึกษา

2. นางสาวสยุมพร        ไชยวงค์     เจ้าหน้าที่บริหาร

3. นางแววดาว            บังเมฆ       เจ้าหน้าที่บริหาร    

4. นางสาวกรรณิกา       มาโน         เจ้าหน้าที่บริหาร

5. นางสาวศศิภาภรณ์    พลีชีพ       เจ้าหน้าที่บริหาร

 

บทสรุปของอาจารย์ ดร.สิริรุ่ง    วงศ์สกุล     รักษาการแทนหัวหน้าสำนักงานให้คำปรึกษาฯ

          ประสานขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานพัฒนาการเรียนการสอน ในการ

จัดอบรมให้กับอาจารย์ที่ปรึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา เพื่อให้บุคลากรได้รับข้อมูล และ

แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องในการให้คำปรึกษาและคัดกรองนักศึกษาในเบื้องต้น

 

บทสรุปของนางสาวสยุมพร   ไชยวงค์  เจ้าหน้าที่บริหาร

          การคัดกรองนักศึกษาเบื้องต้น สามารถใช้วิธีการสังเกตจากบุคลิกภายนอก และจากการพูดคุย ซึ่งหากนักศึกษามีความผิดปกติมักจะมีการแสดงออกทางด้านคำพูดและบุคลิกภาพให้เห็น หรือในบางกรณี นักศึกษาก็เล่าถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติของตนเองและต้องการที่จะแก้ไข ซึ่งหากพบว่า สาเหตุเกิดจากปัญหาที่มีความซับซ้อนก็จะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งตัวนักศึกษาเพื่อดำเนินการช่วยเหลือนักศึกษาต่อไป

         

บทสรุปของนางแววดาว    บังเมฆเจ้าหน้าที่บริหาร

ใช้วิธีสังเกตจากบุคลิกภาพภายนอก การตอบคำถาม เพราะนักศึกษาบ้างคนอาจจะไม่ทราบว่าตัวเองมีปัญหาสุขภาพจิต ก็มักจะใช้คำถาม เช่น “ช่วงนี้นอนหลับไหม”ถ้านอนไม่หลับ เพราะนักศึกษาอาจจะมีความเครียดหรือมีเรื่องกังวลใจ ตัวอย่างนักศึกษาที่มาพบด้วยโรคซึมเศร้า จะมีอาการนอนไม่หลับ จิตใจหดหู่ ท้อแท้ โดยไม่ทราบสาเหตุก็จะทำการส่งต่อ

 

บทสรุปของนางสาวกรรณิกา  มาโน  เจ้าหน้าที่บริหาร

          วิธีการคัดกรองนักศึกษาเบื้องต้นคัดกรองจากบุคลิกลักษณะภายนอก เช่น กิริยา ท่าทาง ลักษณะการแต่งตัวร่วมกับการพูดคุย ซึ่งการพูดคุยจะช่วยให้การคัดกรองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสังเกตจากการตอบคำถามจะมีอาการพูดจาตรงประเด็นชัดเจน หรือมีลักษณะพูดจาสับสนวกวนไม่ตรงประเด็น ข้อมูลขัดแย้งกัน ซึ่งหากพบนักศึกษามีลักษณะอาการดังกล่าวก็จะดำเนินการส่งต่อนักศึกษาไปยังอาจารย์สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ หรืองานจิตเวชคลินิกของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงต่อไป

           และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครั้งนี้  ทำให้ค้นพบแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อคัดกรองนักศึกษาที่มีปัญหาเบื้องต้นเพื่อประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาให้พบทางออกของปัญหา และเข้าใจปัญหาได้ ทั้งนี้ ยังมีการเสนอให้จัดการกิจกรรม อบรม ให้กับอาจารย์ที่ปรึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาอีกด้วย

 

ผลสะท้อนกลับ

การคัดกรองนักศึกษาก่อนการส่งต่อหรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นผลดี เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นบุคลิกลักษณะของนักศึกษา เพื่อวางแผนช่วยเหลือนักศึกษาต่อไป


 

 

นางสาวศศิภาภรณ์  พลีชีพ :ผู้ถอดบทเรียนจากการประชุมKM

 
 
ประกาศเมื่อ : 30/10/2558  
แก้ไขเมื่อ : 14/01/2559 เวลา : 14:30:58  
 

 
Living and Learning Support Center D1 building , first floor , room 127    
333 M 1 T.Tasud  A.Muang Chiang Rai 57100 Tel : 053-916666,6167-6168