สำนักงานให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา (Living and Learning Support Center)
สำนักงานให้คำปรึกษา และช่วยเหลือนักศึกษา (Living and Learning Support Center)
    Home
    About US
    Staff
    KM
    Contact US
Hot Links
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
กรมสุขภาพจิต
วิชาการ.คอม
สำนักงาน ก.พ.

QUICK CONTACT

Tel: 053-916666,6167-6168
Fax: 0-5391-6169
Email: student-support@mfu.ac.th
Website: www.mfu.ac.th/division/llsc

NEWS : km
 
 
การส่งต่อนักศึกษาหรือการประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นเพื่อช่วยเหลือนักศึกษา
 
 

 

ถอดบทเรียนการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดการความรู้ (KM)

ประจำเดือนมีนาคม  2558  ของสำนักงานให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักศึกษา

วันอังคาร ที่ 5 มีนาคม 2558 ณ ห้อง  127  อาคารโรงอาหารและกิจกรรม  D1

 

ตามที่  สำนักงานให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักศึกษา กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดการความรู้ของหน่วยงาน (KM)ในทุกเดือนนั้น ในเดือนมีนาคม2558  สำนักงานให้คำปรึกษาฯ ได้กำหนดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ การส่งต่อนักศึกษาหรือการประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาจากนั้นบุคลากรของสำนักงานฯ จึงได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ซึ่งมีรายละเอียดรายนามบุคลากรและบทสรุปในหัวข้อดังกล่าว  ดังนี้

รายนามบุคลากร

1. อาจารย์ ดร. สิริรุ่ง     วงศ์สกุล     รักษาการแทนหัวหน้าสำนักงานให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักศึกษา

2. นางสาวสยุมพร        ไชยวงค์     เจ้าหน้าที่บริหาร

3. นางแววดาว            บังเมฆ       เจ้าหน้าที่บริหาร    

4. นางสาวกรรณิกา       มาโน         เจ้าหน้าที่บริหาร

5. นางสาวศศิภาภรณ์    พลีชีพ       เจ้าหน้าที่บริหาร

 

บทสรุปของนางสาวสยุมพร   ไชยวงค์  เจ้าหน้าที่บริหาร

          ถ้าเป็นนักศึกษาทั่วไปที่มาขอข้อมูล ที่มีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นๆ ก็จะมีการโทรศัพท์ประสานงานในรายละเอียดเบื้องต้น ก่อนที่นักศึกษาไปยังหน่วยงานดังกล่าว และในกรณีที่นักศึกษามีอาการผิดปกติทางจิต เช่น สติหลุด เดินคนเดียวโดยไร้จุดหมาย ถ้าเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ก็จะตามสังเกตอาการของนักศึกษาในระยะที่ปลอดภัย แต่ถ้าเป็นกรณีที่รุนแรงก็จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย หรือ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ เพื่อส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยดูแลในเบื้องต้น

         

บทสรุปของนางแววดาว    บังเมฆเจ้าหน้าที่บริหาร

ในกรณีของนักศึกษาที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตเข้ามาขอคำปรึกษา ก็จะช่วยจนสุดความสามารถเพื่อให้นักศึกษาพบกับทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่ถ้านักศึกษายังมีความสับสน และวิตกกังวลเนื่องจากมีปัญหาทางสุขภาพ ก็จะพยายามชักชวนนักศึกษา โน้มน้าวให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญที่หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อส่งต่อ โดยพูดว่า “ถ้านักศึกษาต้องการที่จะหายจากความเครียดนั้น จะมีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่งที่จะช่วยนักศึกษาได้” นักศึกษาก็มักยินดีไปพบอาจารย์เพื่อรับการดูแลต่อไป

 

บทสรุปของนางสาวกรรณิกา  มาโน  เจ้าหน้าที่บริหาร

          เคยมีกรณีส่งต่อนักศึกษามาจากส่วนพัฒนานักศึกษา เพื่อให้คัดกรองอาการของนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาบางคนมีอาการประสาทหลอน อารมณ์สองขั้ว (Bipolar) และจากการพูดคุย เมื่อสังเกตเห็นว่านักศึกษาแสดงอาการชัดเจนว่าป่วยก็จะติดต่อไปยัง หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ เพราะสำนักงานช่วยเหลือนักศึกษาฯยังไม่สามารถช่วยเหลือนักศึกษาที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับภาวะทางอารมณ์ เครียด หรือยังสับสนหาทางออกขั้นรุนแรงได้

       และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครั้งนี้  ทำให้ค้นพบแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อการปฏิเสธนักศึกษาที่มีปัญหาในด้านต่างๆและสุขภาพทางจิต เพื่อส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สามารถช่วยเหลือนักศึกษาให้พบทางออกของปัญหา และเข้าใจปัญหาได้ เช่น ประสานเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อขอรับบริการให้ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ เพื่อปรึกษาปัญหาสภาวะจิตกับนักศึกษาที่มีปัญหาทางด้านจิต

 

ผลสะท้อนกลับ

นักศึกษาให้ความร่วมมือดีในการที่จะส่งตัวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นช่วยแก้ปัญหาที่มีความรุนแรงหรือซับซ้อนมากขึ้น

 

 

 

นางสาวศศิภาภรณ์  พลีชีพ :ผู้ถอดบทเรียนจากการประชุมKM

 
 
ประกาศเมื่อ : 30/10/2558  
แก้ไขเมื่อ : 14/01/2559 เวลา : 14:31:16  
 

 
Living and Learning Support Center D1 building , first floor , room 127    
333 M 1 T.Tasud  A.Muang Chiang Rai 57100 Tel : 053-916666,6167-6168