งานวิจัยด้านอีเลิร์นนิง ประจำปี พ.ศ. 2556 จัดโดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

National e-Learning Conference 2013 : Strengthening Learing Quality : Bridging Engineering and Education จัดโดย โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจัดส่ง ผศ.ดร.พรรณฤมล  เต็มดี  สำันักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  (ผู้รับผิดชอบรายวิชา Introduction to Information Technology)และ น.ส. อัมรินทร์  อรินต๊ะทราย เจ้าหน้าที่หน่วยพัฒนาการเรียนการสอน เข้าร่วมในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556 ณ อาคารฟอรัม อิมแพค เมืองทองธานี 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วม 1.ได้ทราบแนวคิดและความรู้ด้านอีเลิร์นนิงที่ทันสมัยจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ 2.ได้รับความรู้งานวิจัยด้านอีเลิร์นนิงเพิ่มมากขึ้น  ได้แก่ 2.1  งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมและคลาวด์เลิร์นนิงเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยและทักษะการใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ  สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มประชากรคืออาจารย์ที่จัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อรวบรวมข้อมูลสารสนเทศงานวิจัยด้านพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับบริการคณาจารย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงต่อไป 2.2  งานวิจัย เรื่อง การพัฒนามหาวิทยาลัยในโลกเสมือน โดยโปรแกรมโลกสามมิติ เพื่อเสริมสร้างความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยรังสิต สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาอังกฤษ ในกิจกรรมการสร้างบรรยากาศให้เป็นนานาชาติ เพื่อให้มีแรงจูงใจและความเชื่อมั่นในตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารภายในสำนักวิชาต่อไปในอนาคต 2.3  งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนเอ็มเลิร์นนิงโดยใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ ที่ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับรายวิชา Introduction to Information Technology ของสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้  2.4  งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบบริหารสถานศึกษาอัจฉริยะ เพื่อดูแลช่วยเหลือผู้เรียนผ่านคลาวด์คอมพิวติง สำหรับสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน  สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบบริหารการศึกษาด้านทะเบียนผู้เรียน ทะเบียนเรียน เวลาเรียน และการดูแลติดตามผู้เรียน ซึ่งวิจัยดังกล่าวสามารถลดจำนวนผู้เรียนออกกลางคันลดลงได้ 2.5  งานวิจัย เรื่อง รูปแบบการจัดการงานอีเลิร์นนิงของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย : บทสรุปและบทเรียนจากสถาบันที่มีประสบการณ์  ผลวิจัยสามารถทำให้ทราบว่าการดำเนินงานด้านอีเลิร์นนิงควรมีระบบโครงสร้างหน่วยงาน ผู้บริหาร ทรัพยากร บุคลากรและงบประมาณสนับสนุนต่อด้านอีเลิร์นนิงอย่างครบถ้วน 2.6  งานวิจัย เรื่อง ความพร้อมในการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับรายวิชา Introduction to Information Technology ของสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และรายวิชาที่สอนรูปแบบอีเลิร์นนิ่งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้ รวมถึงงานวิจัยด้านอีเลิร์นนิงในการพัฒนาการเรียนการสอนที่น่าในใจ ตามเวบลิ้งค์ดังด้านล่างนี้ 

 

Link :http://support.thaicyberu.go.th/stream/vod.php?lang=th&event=nec2013
2013-08-26 09:51:43
view :1039